วิธีการอบโอโซน

ตัวอย่างโครงการวิธีการดำเนินงานอบโอโซน ประสบการณ์จริง โดย ทีมงาน BigOZONE

ปัญหาพิเศษทางเภสัชอุตสาหกรรม

เรื่อง :การทําให้ห้องปราศจากเชื้อโดยใช้แก๊สโอโซน

แนวคิดในการทําโครงการ

จากแนวความคิดที่ว่า “ ความสะอาดเป็นสิ่งสําคัญในงานเภสัชกร” โดยเฉพาะความสะอาดและปราศจากเชื้อในห้องผลิตยาฉีด ซึ่งเดิมใช้ระบบการฆ่าเชื้อด้วย ฟอร์มาดีไฮด์ยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ซึ่งสารพวกนี้ภายหลังเมื่อทําการฆ่าเชื้อในห้องแล้วเราต้อง ทําการกําจัดหรือทําการถ่ายเทให้สารพวกนี้ออกจากห้องทํางานก่อนที่คนจะเข้าทํางานซึ่งจะมีความ ลําบากและยุ่งยากตลอดจนเสียเวลาและมีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้นจึงได้เกิดความคิดที่ว่า หากสามารถใช้ก๊าซโอโซน การฆ่าเชื้อในห้องยาฉีดได้แทนก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ซึ่งก๊าซโอโซนเมื่อทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นก๊าซออกซิเจนได้เองคนที่เข้าไปทํางานก็ได้รับก๊าซออกซิเจน และมีความสดชื่น สะดวกสบายโดยไม่ต้องเสียเวลาในการกําจัด แต่หากยังมีก๊าซโอโซนเหลือ หรือยังตกค้างอยู่ก็อาจใช้แสง UV ที่มีติดพร้อมอยู่แล้วในห้องทํายาฉีด เป็นตัวขจัดโอโซนได้เลย

ขั้นตอนการปฏิบัติดำเนินโครงการ

  • ขั้นที่ 1: วาง Plates เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบก่อนรมห้องด้วยโอโซน
  • ขั้นที่ 2 : การรมห้องด้วยก๊าซโอโซน
  • ขั้นที่ 3 :วาง Plates เพื่อประสิทธิภาพการทําลายเชื้อโรคของโอโซน

 

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อ

Nutrient Agar (Dehydrate)

Ingredient per liter

Bacto Beef Extract 3 g.
Bacto Peptone 5 g.
Bacto Ager   5 g.
Final pH 6.8 +0.2 at 25⁰ C

 

วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
1. ชั่ง Nutrient Ager มา 23 g. ละลายใน deionized water 1 ลิตร
2. ทําการฆ่าเชื้อด้วย autoclave นาน 15 นาทีที่ความดัน 15 pond 121⁰ C 3. โดยใช้ Nutrient Ager ที่ได้มาใส่ลงในplate (เทอาหารเลี้ยงเชื้อใน lamina flow)

วิธีการวาง Ager ในขั้นที่ 1
1. ผู้วาง plates จะต้องสวมเสื้อกาวน์สวมหมวกและใส่mash ก่อนวาง plates 2. นํา Ager plates ที่แข็งแล้วเขียนเบอร์ไว้ที่ฝา plates 1 ถึง 9
3. นํา Ager plates เข้าไปวางในห้อง sterile แล้วเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ด้วย

ลักษณะการวาง plates ในห้อง sterile

วิธีการวาง plates ในห้อง sterile ในการอบโอโซน

4. วาง plates ลงตามจุดก่อนแล้วจึงเปิดฝาออก และควํ่าฝาไว้ข้างๆ
5. เมื่ออกจากห้องปิดประตูปิดไฟฟ้า จับเวลา
6. เมื่อครบ 24 ชม. แล้วจึงเก็บ plates
7. นํา plates ทั้ง 9 อัน ไป incubated นาน 24 ชม. ที่อุณหภูมิ37⁰C
8. เมื่อครบ 24 ชม. ให้นํา plates ออกจากตู้อบ
9. สังเกตลักษณะรูปร่าง สีจํานวนและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ colonies ที่เกิดขึ้น
10. นํา plates ทั้งหมดมาฆ่าเชื้อด้วย BKC 1% แล้วจึงล้างออก ทําความสะอาด

ขั้นที่ 2 การรมห้องด้วยก๊าซโอโซน

เครื่องผลิตโอโซน OZONIZER
ลักษณะเฉพาะของเครื่อง

ขนาดเครื่อง 400 x 500 x 200 mm.
นํ้าหนักของเครื่อง 25 kg.
อัตราการใช้ไฟฟ้า  170 watt
กําลังผลิตของเครื่อง 10,000 mg/hr.
ปริมาณลมที่ใช้สูงสุด 30 l/mm
ความต่างศักย์ไฟฟ้า 10,500 Hz

การคํานวณความเข้มข้นของก๊าซโอโซนที่ใช้ในการทดลอง

ปริมาตรของห้อง sterile (m³) = กว้าง x ยาว x สูง
  = 4 x 4 x 3
  = 48 m³

Pressure ของ O₂ที่ feed เข้าเครื่อง Ozonator 

 = 10 l/min  = 10,000/2 =  5,000 mg/hr

จากสูตร ppm = จํานวณมิลลิกรัมของโอโซนที่ผลิตต่อชั่วโมง
2.144 x ปริมาตรของห้อง = 5,000
2.144 x 48 = 48.59

ในการทดลองได้ใช้ก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์เนื่องจากหากทําโอโซนจากอากาศนั้น จะมีก๊าซไนตรัสออกไซด์เกิดขึ้นด้วย ซึ่งจะมีกลิ่นไม่ดีและลักษณะเป็นหมอกควันเกิดขึ้นมาก

ขั้นที่ 3 การวาง plates หลังจากรมห้องด้วยโอโซน


1. ติดตั้งเครื่องผลิตโอโซน และรมก๊าซโอโซนเข้าห้อง sterile จับเวลาในการรมห้อง 24 ชม. 2. เมื่อครบเวลา นํา platesที่เตรียมไว้มาวางลงจุดเดิม จับเวลา 24 ชม.
3. เมื่อครบเวลาจึงเก็บ plates นําไป incubated ที่อุณหภูมิ370C นาน 24 ชม.
4. สังเกต colonies ของเชื้อ ลักษณะ สีจํานวนและเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละ plate
5. นํา plates ไปฆ่าเชื้อโดย BKC 1% แล้วล้างออก
ผลการทดลอง
การวาง plate ก่อนรมห้องด้วยก๊าซ ozone
Media: Nutrient Ager
Time: 24 hr
Incubation: 24 hr (Temp.3 7 + 20C)

 

  จำนวน
Colonies
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (cm.) สี/ลักษณะ จำนวน
Colonies
จำนวน
Colonies
1 28 1.4 2 สีขาวฟูมีสปอร์
0.4 7 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
<0.2 18 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
2

27

1.1 1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.5 6 สีขาวฟูมีสปอร์
<0.2 20 สีขาวฟูมีสปอร์
3 21 0.5 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
0.5 2 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
<0.2 17 สีขาวฟูมีสปอร์
4 31 0.8 2 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3 4 สีขาวฟูมีสปอร์
<0.2 16 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
5 18 1.8 1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.7 2 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3 6 สีขาวฟูมีสปอร์
<0.2 9 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
6 25 <0.2 12 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
1  1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.8  1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.6  1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.5  2 สีขาวฟูมีสปอร์
0.4  4 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3  4 สีขาวฟูมีสปอร์
 7   22    0.8  1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3   4 สีขาวฟูมีสปอร์
<0.2  17  สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
 8    32   0.9  1  สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน 
 0.7  2  สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน 
<0.2  17  สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน 
0.7 1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.5 1 สีขาวฟูมีสปอร์
0.3 4 สีขาวฟูมีสปอร์
<0.2 4 สีขาวฟูมีสปอร์
9 58 0.5 3 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
    <0.2 47 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
    1 1 สีขาวฟูมีสปอร์
    0.7 2 สีขาวฟูมีสปอร์
    0.4 2 สีขาวฟูมีสปอร์
    <0.2 3 สีขาวฟูมีสปอร์

ปริมาณ 

เชื้อรา ( colonies สีขาวเป็นเส้นใยมีสปอร์) = 106 colonies
เชื้อแบคทีเรีย ( colonies สีเหลืองเยิ้มนูน) = 156 colonies
รวม = 262 colonies

การวาง plate หลังรมห้องด้วยก๊าซ ozone
Media: Nutrient Ager
Time: 24 hr
Incubation: 24 hr (Temp.3 7 + 20C)

Plate จำนวน
Colonies
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (cm.) สี/ลักษณะ จำนวน
Colonies

ปริมาณ Colonies

ที่ลดลงเทียบกับก่อนรมห้องด้วย Ozone (%)

จำนวน
Colonies
1 2 0.1 2 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน 92.85
2

2

1.4 1 สีขาวฟูมีสปอร์ 92.59
0.3 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
3 6 0.5 3 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน     71.43
<0.2 3 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
4 3 0.5 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน    90.32
<0.2 2 สีขาวฟูมีสปอร์
5 4 0.3 2 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน 77.78
0.3 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
0.1 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
6 7 <0.2 2 สีขาวฟูมีสปอร์ 72.00
0.1 5 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
7     8 0.3  1 สีขาวฟูมีสปอร์  63.64
 <0.1   7 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
8    7   0.6 1 สีขาวฟูมีสปอร์ 73.13
0.4 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
<0.1 5 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน
9      58      0.3 1 สีเหลื่อง มีลักษณะเยิ้มนูน 75.00
<0.11 3 สีขาวฟูมีสปอร์


ปริมาณ 

เชื้อรา ( colonies สีขาวเป็นเส้นใยมีสปอร์) = 7 colonies
เชื้อแบคทีเรีย ( colonies สีเหลืองเยิ้มนูน) = 46 colonies
รวม =53colonies


สรุปผลการทดลอง
จากการศึกษาประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของก๊าซโอโซนในอากาศพบว่าก๊าซโอโซน ( O3 ) เป็นสาร Oxidizedที่แรงสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสได้โดยไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่เกิดสารตกค้างในอากาศ จึงนําก๊าซโอโซนมาทําให้ห้องผลิตยาปราศจากเชื้อ
การทดลองครั้งนี้ทําให้ห้อง Sterile ของยาฉีด โดยนําเครื่องผลิตก๊าซโอโซน OZONIZER ใช้โอโซนที่เข้มข้น48.59 ppm ที่เวลา 1 ชั่วโมง (เป็นก๊าซโอโซนบริสุทธิ์)จากการทดลองครั้งนี้ แบ่งการวาง plate ออกเป็น 2 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เพาะเชื้อก่อนรมห้องด้วยโอโซน โดยวาง plate
อาหารเลี้ยงเชื้อที่ตําแหน่งต่างๆของห้องทั้งหมด 9 plates
ครั้งที่ 2 เพาะเชื้อหลังการรมห้องด้วยโอโซน โดยวาง plate ที่ตําแหน่งเดิมพบว่า

 

Plate จำนวน Colonies

ปริมาณ Colonies ที่ลดลงเทียบกับก่อนรมห้องด้วย gas O3

ณ ตำแหน่งเดี่ยวกัน (%)

 ก่อนรมห้องด้วย gas O3 หลังรมห้องด้วย gas O3
1 28 2  92.85
2 27 2  92.59
3 21 6 71.43
4 31 3 90.32
5 18 4  77.78
6 25 7  72.00
7 22 8  63.64
8 32 7 73.13
9 58 14 75.00

 

ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดีปริมาณเชื้อหลังจากการรมด้วยก๊าซโอโซนจะลดลงเฉลี่ย 78.8 % จากการเพราะเชื้อก่อนและหลังที่รมห้องด้วยโอโซนพบว่า colonies ที่ขึ้นมีอยู่2ลักษณะ คือ colonies เส้นใย สีขาว มีสปอร์และcolonies สีเหลืองเยิ้มมันวาว โดยจะเป็นเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ตามลําดับ หลังจาการรมห้องด้วยก๊าซโอโซนพบว่า เชื้อราจะถูกกําจัดมากกว่าแบคทีเรียเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณด้านในห้อง ( plate 1,2,3) จะมีปริมาณเชื้อลดลงมากที่สุด การทําลายจะลดลงมาเรื่อยๆและบริเวณประตูเข้า เชื้อลดลงน้อยที่สุด

วิจารณ์ผลการทดลอง
จากทฤษฎีความเข้มของโอโซนที่0.1 – 0.3 ppm ก็สามารถฆ่าเชื้อได้แล้ว แต่จากการทดลองเราใช้ความเข้มข้น 104.17 ppm ที่เวลา 1 ชั่วโมง พบว่าเชื้อยังทําลายไม่หมด ทั้งนี้อาจเกิดจาก
1. ผู้ทําการทดลองอาจนําเชื้อเข้าไปในห้อง Sterile ขณะวาง plates และเก็บ plates จะสังเกตได้จาก บริเวณประตูทางเข้าพบจํานวนเชื้อขึ้นมากที่สุด
2. การปนเปื้อนอาจเกิดได้จากสัตว์ในห้อง เนื่องจากเมื่อทําการเก็บ plates พบว่ามีมด แมลงและ จิ้งจกอยู่ข้างๆ platesที่กําลังจะเก็บ

ผลการทดลองของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ


เกี่ยวกับประสิทธิภาพของก๊าซโอโซนในการฆ่าเชื้อของ
อากาศในห้องปฏิบัติการและน้ำล้างขั้นสุดท้ายสำหรับภาชนะบรรุจอุปกรณ์การผลิตเภสัชภัณฑ์

ดร.ประศาสน์ เจริญพานิช ,ภบ.ฤดี เสาวคนธ์,MSc. สุฑามาศจุ่นแพ,ชุลีพร ละเอียดดี อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาเภสัช

อุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Bactericidal activity of ozone final rinse of nonsterile pharmaceutical containerand equipment

CharoenpanichP,BSc.SaowakonthaR,MSc.JumpaeS,LaeiddeeC Fifthyearpharmacystudent,Facultyofpharmacy,Huachiewchalermprakietuniversity

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของก๊าซโอโซนในการฆ่าเชื้อของน้ำที่ผ่านกระบวนการ
ReverseOsmosis(RO)-Deionization(DI)เพื่อใช้เป็นน้ำล้างขั้นสุดท้ายสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ ในการผลิตเภสัชภัณฑ์
ประเภท nonsterile

วิธีวิจัย สุ่มตัวอย่างเพื่อหาปริมาณเชื้อที่จุดต่างๆในกระบวนการผลิตน้ำยา(RO-DI Water) ที่ห้องปฏิบัติการเภสัชผลิตภัณฑ์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จุดที่ทำการสุ่มตัวอย่างคือจุดที่น้ำที่ผ่านกระบวน

การRO,RO-DI และน้ำRO-DI ที่ผ่านก๊าซโอโซน ในช่วงเวลาต่างๆกัน ในการทดลองที่ผ่านก๊าซโอโซน ในน้ำRO-DI ใช้น้ำ ปริมาณ 1ลิตร ผ่านก๊าซโอโซนที่เวลา 5,10,15นาทu ซึ่งคิดเป็นความเข้มข้นของก๊าซโอโซนในน้ำเท่ากับ 52,104,208 ppm/lตามลำดับ จากนี้นำตัวอย่างน้ำไปเพาะเชื้อใน 3M Petrifilmaerobiccountplate และมีการทำ positive และnegativecontrol ควบคู่กันไป เพื่อยืนยันผลการทดลอง นอกจากนี้ได้ทดลองผ่าน ก๊าซโอโซนลงในน้ำในตัวอย่าง น้ำ1ลิตรที่ช่วงเวลาต่างๆกันตั้งแต่เวลา5 นาที ถึง 120นาทีตามลำดับเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง เวลาที่ผ่าน Ozone ลงในน้ำกับความเข้มข้นของก๊าซโอโซน

ผลการวิจัยพบว่าน้ำที่ผ่านกระบวนการRO และ RO-DI ตรวจพบปริมาณเชื้อทั้งหมด(total aerobicbacteriacount)เท่ากับ 200 และ 300cfu/mlส่วนน้ำที่ผ่านRO-DI-Ozone ตรวจพบปริมาณเชื้อทั้งหมดเท่ากับ 2,1 และ 0cfu/mlตามลำดับ และจากการทดลองผ่านก๊าซโอโซนลงในน้ำที่ช่วงเวลาต่างๆกันตั้งแต่ 5นาที ถึง120นาที พบว่าปริมาณก๊าซโอโซนในน้ำค่อยเพิ่มขึ้นทีละน้อย ตามเวลาที่เพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่เวลา45นาที จากนี้ปริมาณก๊าซโอโซนจะค่อยๆลดลงเมื่อถึงจุดอิ่มตัว

บทสรุปและข้อเสนอแนะ จากผลการทดลองสรุปว่าได้ผลดีเป็นที่พึ่งพอใจเป็นอย่างมากซึ่งได้ผลดังนี้
สามารถใช้ก๊าซโอโซนลดปริมาณเชื้อในน้ำที่ผ่านกระบวนการRO-DI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในตัวอย่างน้ำ 1ลิตร ใน ทั้ง3ช่วงเวลาที่ทดลองซึ่งปริมาณเชื้อในน้ำที่ตรวจพบ ได้มาตรฐานปริมาณเชื้อที่กำหนดไว้ สำหรับน้ำทำยา nonsterile (purifiedwater) ซึ่ง EMEA*แนะนำให้ใช้เป็นน้ำล้างภาชนะขั้นสุดท้ายใน การผลิตเภสัชภัณฑ์อย่างไรก็ดีการ นำก๊าซโอโซนไปใช้ในสถานการณ์จริง ควรหาจุดพอดีระหว่างปริมาณน้ำ ที่ต้องการลดจำนวนเชื้อและความเข้มข้น ของก๊าซโอโซนที่ใช้ส่วนเกินออกไปในบรรยากาศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณใกล้เคียงซึ่ง จากการรายงานและประสบการณ์ของผู้วิจัยพบว่า ก๊าซโอโซนความเข้มข้นสูงก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรสวมชุดปฏิบัติงานที่สามารถป้องกันการสูดดมก๊าซโอโซนโดยไม่จำเป็น
*TheEuropeanAgencyfor theEvaluationof MedicinalProduct

Visitors: 55,862